วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เนื้อหา เกี่ยวกับ ฟังก์ชั่น EXCEL วันที่ 14/12/2553

PMT(rate,nper,pv,fv,type)
สำหรับคำอธิบายที่ครบถ้วนของอาร์กิวเมนต์ใน PMT ให้ดูที่ฟังก์ชัน PV
rate    คืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้
nper    คือจำนวนงวด (จำนวนครั้ง) ในการชำระเงินทั้งหมดสำหรับเงินกู้
pv    คือค่า PV ( present value เป็นมูลค่าปัจจุบัน ) ของการลงทุน : มูลค่าในปัจจุบันของการชำระเงินทุกงวดทั้งหมด
fv    คือมูลค่าในอนาคต ( FV - future value) หรือจำนวนเงินที่คุณต้องการให้คงเหลือหลังจากชำระงวดสุดท้าย ถ้าละไว้จะถือว่า fv เป็น 0 (ตัวอย่างเช่น มูลค่าอนาคตของเงินกู้มีค่าเป็น 0)
type    เป็นค่าตรรกะที่ระบุกำหนดการชำระเงิน
ระบุค่าชนิดเท่ากับกำหนดชำระเงิน
0 หรือละไว้เมื่อสิ้นงวด
1เมื่อต้นงวด

ข้อสังเกต
  • การชำระที่ส่งกลับจากฟังก์ชัน PMT จะรวมเอาต้นทุนและดอกเบี้ยเข้าด้วยกัน แต่ไม่มีภาษี การชำระเงินสำรอง หรือค่าธรรมเนียมซึ่งบางครั้งจะรวมอยู่กับเงินกู้
  • ตรวจให้แน่ใจว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับหน่วยที่คุณใช้ในการระบุ rate และ nper ถ้าคุณชำระเงินกู้ 4 ปีเป็นรายเดือนในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 12 ต่อปี ให้ใช้ 12%/12 สำหรับ rate และ 4*12 สำหรับ nper ถ้าคุณชำระเงินกู้เดียวกันนี้เป็นรายปี ให้ใช้ 12% สำหรับ rate และ 4 สำหรับ nper
ตัวอย่าง 1
หากคัดลอกตัวอย่างไปใส่ไว้ในกระดาษคำนวณว่างเปล่าจะทำให้อ่านตัวอย่างได้เข้าใจยิ่งขึ้น
 
1
2
3
4
AB
ข้อมูลคำอธิบาย
8%อัตราดอกเบี้ยรายปี
10จำนวนเดือนที่ต้องชำระเงิน
10000จำนวนเงินกู้
สูตรคำอธิบาย (ผลลัพธ์)
=PMT(A2/12, A3, A4)ค่างวดรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามเงื่อนไขข้างบน (-1,037.03)
=PMT(A2/12, A3, A4, 0, 1)ค่างวดรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามเงื่อนไขข้างบน แต่การชำระจะทำที่ตอนต้นงวด (-1,030.16)
ตัวอย่าง 2
คุณสามารถใช้ PMT หาการชำระเงินอื่นๆ นอกเหนือจากเงินกู้ได้ด้วย
หากคัดลอกตัวอย่างไปใส่ไว้ในกระดาษคำนวณว่างเปล่าจะทำให้อ่านตัวอย่างได้เข้าใจยิ่งขึ้น
 
1
2
3
4
AB
ข้อมูลคำอธิบาย
6%อัตราดอกเบี้ยรายปี
18จำนวนปีที่คุณวางแผนในการออม
50,000จำนวนเงินที่คุณต้องการออมใน 18 ปี
สูตรคำอธิบาย (ผลลัพธ์)
=PMT(A2/12, A3*12, 0, A4)จำนวนเงินที่ต้องออมในแต่ละเดือน เพื่อให้มีเงินจำนวน 50,000 เมื่อครบ 18 ปี (-129.08)
หมายเหตุ  อัตราดอกเบี้ยจะหารด้วย 12 เพื่อหาอัตรารายเดือน จำนวนปีที่จ่ายเงินไปจะคูณด้วย 12 เพื่อหาจำนวนครั้งที่ชำระเงิน
FV (rate,nper,pmt,pv,type)
สำหรับคำอธิบายที่สมบูรณ์กว่านี้ของอาร์กิวเมนต์ ใน FV และข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องฟังก์ชันเงินรายปี ให้ดูที่ PV
Rate    คืออัตราดอกเบี้ยต่องวด
Nper    คือจำนวนงวดทั้งหมดของการชำระเงินรายปี
Pmt    คือจำนวนเงินที่ต้องชำระในแต่ละคาบเวลา ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดช่วงปีที่กำหนด โดยทั่วไป pmt ประกอบด้วยเงินต้น และดอกเบี้ย ถ้าไม่ได้ใส่ค่าอะไรไว้ คุณควรจะรวมอาร์กิวเมนต์ pv
Pv    คือค่า pv (present value -มูลค่าปัจจุบัน) หรือมูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินที่ชำระเป็นงวดๆ ทั้งหมด ถ้าไม่ได้ใส่ค่าอะไรไว้ จะมีค่าเป็น 0 (ศูนย์) และคุณควรจะรวมอาร์กิวเมนต์ pmt
type    คือตัวเลข 0 หรือ 1 ซึ่งใช้บ่งชี้วันครบกำหนดการชำระเงิน ถ้าไม่ได้ใส่ค่า type ไว้ ก็จะถือว่าค่านี้เท่ากับ 0
ระบุค่าชนิดเท่ากับกำหนดชำระเงิน
0เมื่อสิ้นงวด
1เมื่อต้นงวด

ข้อสังเกต
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณใส่หน่วยของอัตราและ nper สอดคล้องตรงกัน กรณีที่คุณชำระเงินรายเดือนของหนี้สินที่มีกำหนดเวลา 4 ปี โดยมีอัตราดอกเบี้ย 12 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ให้ใส่อัตราเป็น 12%/12 และใส่ nper เป็น 4*12 แต่กรณีที่คุณชำระเงินรายปีของหนี้สินก้อนเดียวกัน ให้ใส่อัตราเป็น 12% และใส่ nper เป็น 4
  • สำหรับอาร์กิวเมนต์ทุกอาร์กิวเมนต์นั้น เงินสดที่คุณจ่ายออกไป เช่น เงินฝากเพื่อการออม จะถูกแสดงด้วยตัวเลขที่เป็นค่าลบ ส่วนเงินสดที่คุณได้รับ เช่น เช็คเงินปันผล จะถูกแสดงด้วยตัวเลขที่เป็นค่าบวก
ตัวอย่าง 1
หากคัดลอกตัวอย่างไปใส่ไว้ในกระดาษคำนวณว่างเปล่าจะทำให้อ่านตัวอย่างได้เข้าใจยิ่งขึ้น
 
1
2
3
4
5
6
AB
ข้อมูลคำอธิบาย
6%อัตราดอกเบี้ยรายปี
10จำนวนครั้งของการชำระเงิน
-200ปริมาณการชำระเงิน
-500มูลค่าปัจจุบัน
1กำหนดชำระเงินตอนต้นงวด (ดูข้างบน)
สูตรคำอธิบาย (ผลลัพธ์)
=FV(A2/12, A3, A4, A5, A6)มูลค่าในอนาคตของการลงทุนตามข้อมูลข้างบน (2581.40)
หมายเหตุ   อัตราดอกเบี้ยรายปีถูกหารด้วย 12 เนื่องจากต้องการชำระเป็นรายเดือน
ตัวอย่าง 2
หากคัดลอกตัวอย่างไปใส่ไว้ในกระดาษคำนวณว่างเปล่าจะทำให้อ่านตัวอย่างได้เข้าใจยิ่งขึ้น
 
1
2
3
4
AB
ข้อมูลคำอธิบาย
12%อัตราดอกเบี้ยรายปี
12จำนวนครั้งของการชำระเงิน
-1000ปริมาณการชำระเงิน
สูตรคำอธิบาย (ผลลัพธ์)
=FV(A2/12, A3, A4)มูลค่าในอนาคตของการลงทุนตามข้อมูลข้างบน (12,682.50)
หมายเหตุ   อัตราดอกเบี้ยรายปีถูกหารด้วย 12 เนื่องจากต้องการชำระเป็นรายเดือน
ตัวอย่างที่ 3
หากคัดลอกตัวอย่างไปใส่ไว้ในกระดาษคำนวณว่างเปล่าจะทำให้อ่านตัวอย่างได้เข้าใจยิ่งขึ้น
 
1
2
3
4
5
AB
ข้อมูลคำอธิบาย
11%อัตราดอกเบี้ยรายปี
35จำนวนครั้งของการชำระเงิน
-2000ปริมาณการชำระเงิน
1กำหนดเวลาการชำระเงินตอนต้นปี (ดูข้อมูลข้างบน)
สูตรคำอธิบาย (ผลลัพธ์)
=FV(A2/12, A3, A4,, A5)มูลค่าในอนาคตของการลงทุนตามข้อมูลข้างบน (82,846.25)
หมายเหตุ   อัตราดอกเบี้ยรายปีถูกหารด้วย 12 เนื่องจากต้องการชำระเป็นรายเดือน
ตัวอย่างที่ 4
หากคัดลอกตัวอย่างไปใส่ไว้ในกระดาษคำนวณว่างเปล่าจะทำให้อ่านตัวอย่างได้เข้าใจยิ่งขึ้น
 
1
2
3
4
5
6
AB
ข้อมูลคำอธิบาย
6%อัตราดอกเบี้ยรายปี
12จำนวนครั้งของการชำระเงิน
-100ปริมาณการชำระเงิน
-1000มูลค่าปัจจุบัน
1กำหนดเวลาการชำระเงินตอนต้นปี (ดูข้อมูลข้างบน)
สูตรคำอธิบาย (ผลลัพธ์)
=FV(A2/12, A3, A4, A5, A6)มูลค่าในอนาคตของการลงทุนตามข้อมูลข้างบน (2301.40)
หมายเหตุ   อัตราดอกเบี้ยรายปีถูกหารด้วย 12 เนื่องจากต้องการชำระเป็นรายเดือน
NPER (ratepmtpv, fv, type)
สำหรับคำอธิบายของอาร์กิวเมนต์ในฟังก์ชัน NPER ที่สมบูรณ์และสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟังก์ชันเงินรายปี ให้ดูที่ PV
Rate    คืออัตราดอกเบี้ยต่องวด
pmt    คือยอดการชำระเงินในแต่ละงวด ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งโดยทั่วไป pmt จะรวมเงินต้นและดอกเบี้ยเข้าด้วยกัน แต่จะไม่รวมอากรและภาษี
Pv    คือมูลค่าปัจจุบันหรือเงินก้อนที่เป็นมีค่าเท่ากับการชำระในอนาคตแต่ละงวดรวมกัน
Fv    คือมูลค่าอนาคต หรือดุลเงินสดที่คุณต้องการให้เป็นหลังจากได้ชำระเงินงวดสุดท้ายแล้ว ถ้าละไว้จะถือว่า fv เท่ากับ 0 (ตัวอย่างเช่น มูลค่าอนาคตของหนี้สินเท่ากับ 0)
Type    คือตัวเลข 0 หรือ 1 ซึ่งใช้บ่งชี้กำหนดชำระเงิน
ระบุค่าชนิดเท่ากับกำหนดชำระเงิน
0 หรือละไว้เมื่อสิ้นงวด
1เมื่อต้นงวด

ตัวอย่าง
หากคัดลอกตัวอย่างไปใส่ไว้ในกระดาษคำนวณว่างเปล่าจะทำให้อ่านตัวอย่างได้เข้าใจยิ่งขึ้น
 
1
2
3
4
5
6
AB
ข้อมูลคำอธิบาย
12%อัตราดอกเบี้ยรายปี
-100การชำระเงินในแต่ละงวด
-1000มูลค่าปัจจุบัน
10000มูลค่าในอนาคต
1กำหนดชำระเงินตอนต้นงวด (ดูข้างบน)
สูตรคำอธิบาย (ผลลัพธ์)
=NPER(A2/12, A3, A4, A5, 1)จำนวนงวดของการลงทุนตามเงื่อนไขข้างบน (60)
=NPER(A2/12, A3, A4, A5)จำนวนงวดของการลงทุนตามเงื่อนไขข้างบน เว้นแต่ว่าการชำระเงินมีกำหนดที่ต้นงวด (60)
=NPER(A2/12, A3, A4)จำนวนงวดของการลงทุนด้วยเงื่อนไขข้างบน เว้นแต่ว่ามูลค่าในอนาคตเท่ากับ 0 (-9.578)
IRR (values,guess)
value    คืออาร์เรย์หรือการอ้างอิงไปยังเซลล์ที่มีตัวเลข ที่คุณต้องการคำนวณหาค่าอัตราผลตอบแทนซื้อลด (internal rate of return)
  • value ต้องมีอย่างน้อยหนึ่งค่าที่เป็นบวก และอีกหนึ่งค่าที่เป็นลบเพื่อคำนวณอัตราผลตอบแทนซื้อลด (internal rate of return)
  • ฟังก์ชัน IRR ใช้ลำดับของค่าในการแปลลำดับของสภาพคล่องตัวทางการเงิน ให้แน่ใจว่าได้ใส่ค่ารายจ่าย และรายรับในลำดับที่คุณต้องการ
  • ถ้าอาร์เรย์หรืออาร์กิวเมนต์ประกอบด้วยข้อความ ค่าตรรกะหรือเซลล์ว่าง ค่าเหล่านั้นจะถูกละเว้น
guess    คือจำนวนที่คุณคาดคะเนว่าควรจะเป็นผลลัพธ์ของ IRR
  • Microsoft Excel ใช้เทคนิคการทบทวน สำหรับการคำนวณ IRR เริ่มต้นด้วยการเดา IRR จะวนรอบการคำนวณจนกว่าผลลัพธ์จะถูกต้องภายใน 0.00001 เปอร์เซ็นต์ ถ้า IRR ไม่สามารถค้นหาผลลัพธ์ภายใน 20 ครั้ง จะส่งกลับ #NUM! เป็นค่าข้อผิดพลาด
  • ในกรณีส่วนใหญ่คุณไม่จำเป็นต้องใส่ค่า guess สำหรับการคำนวณของ IRR ถ้าไม่ได้ใส่ค่าอะไรใน guess จะถือว่าค่านี้เท่ากับ 0.1 (10 เปอร์เซ็นต์)
  • ถ้า IRR ส่งกลับ #NUM! เป็นค่าข้อผิดพลาด หรือถ้าผลลัพธ์ไม่ใกล้เคียงกับที่คุณคาดคะเนไว้ ให้พยายามคาดคะเนอีกครั้งด้วยค่าที่แตกต่างกัน
หมายเหตุ
IRR มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับ NPV (ฟังก์ชันมูลค่าปัจจุบันสุทธิ) อัตราผลตอบแทนที่คำนวณโดย IRR เป็นอัตราดอกเบี้ยซึ่งสอดคล้องกับมูลค่าปัจจุบันสุทธิที่เป็น 0 (ศูนย์) สูตรดังต่อไปนี้จะสาธิตว่า NPV และ IRR มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
NPV(IRR(B1:B6),B1:B6) เท่ากับ 3.60E-08 [ภายในความเที่ยงตรงของการคำนวณ IRR ค่า 3.60E-08 จะมีค่าเป็น 0 (ศูนย์)]
ตัวอย่าง
หากคัดลอกตัวอย่างไปใส่ไว้ในกระดาษคำนวณว่างเปล่าจะทำให้อ่านตัวอย่างได้เข้าใจยิ่งขึ้น
 
1
2
3
4
5
6
7
AB
ข้อมูลคำอธิบาย
-70,000เงินทุนแรกเริ่มของการดำเนินธุรกิจ
12,000รายได้สุทธิของปีแรก
15,000รายได้สุทธิของปีที่สอง
18,000รายได้สุทธิของปีที่สาม
21,000รายได้สุทธิของปีที่สี่
26,000รายได้สุทธิของปีที่ห้า
สูตรคำอธิบาย (ผลลัพธ์)
=IRR(A2:A6)อัตราผลตอบแทนซื้อลดของเงินลงทุนหลังจากครบสี่ปี (-2%)
=IRR(A2:A7)อัตราผลตอบแทนซื้อลดหลังจากครบห้าปี (9%)
=IRR(A2:A4,-10%)เมื่อต้องการคำนวณอัตราผลตอบแทนซื้อลดหลังจากครบสองปี ซึ่งจะต้องใส่ค่า guess ไว้ด้วย (-44%)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น